นกแก้ว Conures แก้มเขียว เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ ‘นกแก้ว’ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ Latin America จาก Mexico ลงมาถึงหมู่เกาะ Caribbean และ Chile ใต้ นกแก้ว Conures พันธุ์ใหญ่สุด คือ Patagonia มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว นก Conures เป็นนกรักสันติ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่
สำหรับนกแก้ว Green-cheeked conures เป็นนกแก้วเสียงไม่ดังเหมือนนกแก้วสายพันธุ์อื่นๆ เหมาะมากกับผู้ต้องการนำไปเลี้ยงโดยไม่รบกวนเพื่อนบ้าน และนกแก้วในตระกูล Green-cheeked ยังนำมาเลี้ยงให้เชื่อง ฝึกเพื่อปล่อยบินให้อิสระแล้วบินกลับมาหาเจ้าของเหมือนนกแก้วสายพันธุ์อื่นๆ ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันนี้นกแก้ว Green-cheeked conures เป็นนกที่สามารถเพาะพันธ์ได้ในประเทศไทย มีนิสัยรักเจ้าของ เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีขนาดประมาณ 24 เซนติเมตร นก Green-cheeked conures มีความฉลาดเฉลียว สอนพูดได้และเชื่องมาก ถึงแม้จะเป็นนกแก้วค่อนข้างมีขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถเลี้ยงในพื้นที่จำกัดได้ ผู้อาศัยอยู่ในคอนโดจึงหมดห่วง กรงที่ใช้เลี้ยงต้องมีขนาดความกว้าง ประมาณ 70 – 80 เซนติเมตร ความยาว 1.50 เมตร หรือถ้ามีเนื้อที่กว้างยาวกว่านี้ยิ่งดี หากแต่ขนาดนี้เป็นขนาดมาตรฐาน

สำหรับอาหารหลักที่ขาดไปไม่ได้ของ Green-cheeked conures คือ ข้าวไรท์ , เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งเมล็ดอื่นๆ ในการเพาะขยายพันธุ์นกแก้ว Green-cheeked conures ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ใส่ใจในเรื่องของการให้อาหารดี มีคุณภาพ และต้องทำให้พ่อ-แม่นกมีความอุดมสมบูรณ์ให้เต็มที่ มีรังให้แม่นกออกไข่ โดยสำหรับการทำรังผู้เลี้ยงควรหาซื้อขี้กบจากการไสไม้ที่มีลักษณะหยาบกว่าขี้เลื่อยมาจะเหมาะกว่า แต่อย่างไรก็ตาม Green-cheeked conures ที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ควรมีอายุอย่างต่ำ 8 เดือน แต่ถ้าให้ดีสุดควรมีอายุ 1 ปีจะเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ข้อดีอีกประการหนึ่งของนกแก้วชนิดนี้ คือ นำมาจับผสมพันธ์ได้ง่าย ไม่ค่อยพบปัญหานกตีกันเท่าไหร่ เพราะมีลักษณะรักสงบ
ในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี หากแต่ช่วงเวลาที่นกชอบมากสุด คือ ช่วงเดือนกันยายน – เดือนมีนาคม ถ้าแม่นกมีความสมบูรณ์มากพอ จะสามารถออกไข่ได้ปีละถึง 3-4 คอกเลยทีเดียว นอกจากนี้ในการออกไข่แต่ล่ะครั้งจะออกมาประมาณ 6 ฟอง ในอดีตนกแก้ว Green-cheeked conures ที่มีเลี้ยงในประเทศไทย จะมีสีเขียวเป็นหลัก ทำให้หลายๆ ไม่ค่อยสนใจเท่าไร หากแต่ต่อมา มีการพัฒนาผสมพันธุ์จนเกิดสีสันหลากหลายมากขึ้น ทำให้ตลาดมีการขยายตัวมากขึ้น และในอนาคตจะทำให้การผสมพันธุ์ใหม่ๆ จนเกิด Green-cheeked conures สีขาวกับสีเหลือง ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้เลี้ยงเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน